ก่อนอื่นผมต้องขอพูดถึงกฎ ๆ หนึ่งก่อน คือกฎ 20/80 ผมเชื่อว่าหลายท่านคงพอจะรู้จักอยู่แล้ว ผมขออธิบายอีกรอบแล้วกัน กฎ 20/80 คือ

ในนักเรียน 50 คนในห้อง จะมีนักเรียน 20 % ที่ทำผลงานได้โดดเด่น มากที่สุดเมื่อเทียบกับนักเรียน 80 % ที่เหลือ

ในบริษัทหนึ่ง จะมีพนักงาน 20 % ที่ทำผลงานหรือผลผลิต ได้เท่ากับพนักงาน 80 % ที่เหลือรวมกันซะอีก

ในวงการเพลงจะมีศิลปินประมาณ 20 % ที่ทำรายได้เท่ากับ 80% ของศิลปินที่เหลือรวมกัน

ในการแข่งขันฟุตบอล จะมีทีมแค่ 20 % ที่ทำ performance หรือทำเงินทำผลงานทำรางวัล หรือมีแฟนติดตามมากกว่า 80 % ของทีมที่เหลือ

ดังนั้น สิ่งที่ผมกำลังจะบอกก็คือ สำหรับบางธุรกิจ คุณเอาของคุณไปลงโฆษณาใน Google และไปลงในโฆษณา Facebook บางครั้งมันจะเกิด 20/80 ที่ Google แต่บางครั้งมันจะเกิด 80/20 ที่ Facebook หรือบางครั้งมันเกิด 20/80 ทั้ง Google และ Facebook ก็มี พูดง่าย ๆ ว่าแต่ละคนแต่ละธุรกิจจะเหมาะกับ Google และ Facebook หรืออาจจะเหมาะกับทั้งคู่ ได้แตกต่างกัน

ซึ่งผมคงจะไม่สามารถมาลงทุกอุตสาหกรรม ในบล๊อคตัวนี้ได้นะครับ เพราะผมไม่อยากให้มันยาวจนเกินไป แต่ดังนั้นผมจะให้แง่คิดให้หลักคร่าว ๆ นะครับระหว่าง Google และ Facebook ว่ามันเหมาะกับอะไร? กับธุรกิจแบบไหนมากกว่ากัน

ผมให้หลักง่าย ๆ อย่างหนึ่งก่อน...
Google เหมาะกับธุรกิจที่ใช้เหตุผลในการเลือก ใช้เหตุผล ใช้ข้อมูล ใช้ logic ใช้ตรรกะในการเลือก 
Facebook เหมาะกับธุรกิจ ที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการเลือก

Google = เหตุผล,ข้อมูล

Facebook = อารมณ์

ย้ำ!อีกทีว่ามันมีรายละเอียด detail เยอะแยะมากมายนะครับ อันนี้เป็นแค่หลักการคร่าว ๆ แค่นั้นเอง ทีนี้มารอดูกันว่าทำไมผมถึงบอกว่า Google เน้นเหตุผลและข้อมูล Facebook เน้นอารมณ์

เราลองนึกดูว่าเวลาที่เราจะสมัครงานหรือว่าหางานทำ เราจะไปหาข้อมูลใน Facebook หรือเราจะไปหาข้อมูลใน Google ผมเชื่อว่าหลายท่าน จะไปหาข้อมูลจากใน Google ก่อนถูกต้องไหมครับ เราลองนึกดูสิครับว่า

ถ้าเราจะสมัครเรียนในมหาวิทยาลัย ว่าจะเข้าคณะไหนหรือเข้ามหาวิทยาลัยไหนดี เราจะหาข้อมูลใน Google หรือเราจะหาข้อมูลใน Facebook  ผมเชื่อว่าหลายท่านก็ตอบ Google

ถ้าเราจะเปรียบเทียบรถยี่ห้อหนึ่งกับอีกยี่ห้อหนึ่ง เราจะซื้อคันไหนดี เราจะหาใน Google หรือ Facebook 

ถ้าเราจะหาอาหารบางอย่าง ที่รักษาโรคหรือทำให้สุขภาพเราดีขึ้น จะหาที่ท่องเที่ยว รู้แล้วว่าเราจะไปเที่ยววันไหนประเทศไหน เราอยากจะหาข้อมูลเพิ่มว่า มีเจ้าไหนขายบ้างอะไรอย่างนี้

เราอยากจะหาสินค้าที่ซื้อมา แล้วเอาไปใช้กับที่บริษัทของเรา พูดง่าย ๆ ว่าซื้อแบบ B2ก็คืออย่างเช่นพวก ซื้อเครื่องจักรซื้อระบบคอมพิวเตอร์ ซื้อระบบ Server ซื้อระบบ IT เช่า hosting ทำเว็บไซต์ หรืออาจจะเป็นรับทำบัญชี รับหาที่ปรึกษา อะไรต่าง ๆ เราจะไปหาใน Google หรือ ใน Facebook

ผมเชื่อว่าจุดเริ่มต้นของการหาของหลาย ๆ ท่าน น่าจะเริ่มจาก Google ใช่ไหม บางท่านอาจจะตอบว่า “บางทีผมก็หาใน Facebook” แปลว่าถ้าเป็นอย่างนั้น สินค้าที่คุณบอกว่าคุณหาใน Facebook ตัวนั้นอาจจะลง Facebook ได้ด้วยเหมือนกันนะครับ อาจจะเหมาะกับ Facebook เหมือนกัน

แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วกัน ถ้าเราจะหาเรื่องที่เราพูดมาทั้งหมด เราจะเข้า Google ก่อน แต่หลังจากนั้นเราอาจจะไปดูแฟนเพจ เราอาจจะไปดูในเว็บไซต์ อาจจะไปดูพันทิป อะไรอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าเวลาเราจะหาข้อมูล เราต้องเริ่มจาก Google 

ทีนี้เราลองนึกภาพว่า ใน Facebook เราเริ่มจากอย่างไร ใช่ไหมเวลาเราเห็นโฆษณา จริง ๆ แล้ว Facebook เขาจับความสนใจเราอยู่ เขารู้เราทุกเรื่องว่าเราสนใจอะไร ทุกวันนี้ตรงมากขึ้นเรื่อย ๆนะ

ถ้าใครอยากเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ไปดูคลิปตัวหนึ่งนะครับที่ผมอธิบายเรื่อง Facebook algorithm ในหน้าแฟนเพจหรือใน Youtube ของผมก็ได้นะครับจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งเลย บน Facebook เขาจับเราว่า เราสนใจเรื่อง ๆ หนึ่งอยู่

สมมติว่าผมเป็นคนที่สนใจ เรื่องการตลาดออนไลน์ เพราะว่าผมอยู่ในอาชีพนี้ผมก็ต้องสนใจอยู่แล้ว ผมก็เล่น Facebook ไป แต่ว่าผมกำลังเผือกเรื่องเพื่อนอยู่กำลังเลื่อนดูอยากรู้เรื่องเพื่อนตัวเอง เลื่อนดูไปเรื่อย ๆ เลื่อนดูเรื่องบอลโลก เลื่อนดูไปอยู่ ๆ ก็เจอโฆษณา โป้ง! ขึ้นมา

คำถามคือถ้าผมจะสนใจโฆษณาตัวนี้มันจะเพราะอะไร ?

อย่างหนึ่งเลยที่เป็นเทคนิคหนึ่งเลย ผมจะมีแนวโน้มจะสนใจ ถ้าโฆษณาตัวนั้นมันสามารถ กระตุ้นอารมณ์บางอย่างของผมได้ หรือว่ากระตุ้นสัญชาตญาณบางอย่างของผมได้ เช่น รูปอาจจะสวยมาก หรือว่าอาจจะมีโปรโมชั่นของเครื่องไม้เครื่องมือ โฆษณาบางอย่างที่ผมกำลังสนใจอยู่ หรืออาจจะมี topic ที่แบบ เห็นแล้วน่าสนใจมาก

ดังนั้น Facebook มันจึงเป็นลักษณะ เขาเรียกว่า impulse buying คือ หมายถึงว่าเราอยู่ของเราเล่นของเราอยู่นะครับ อยู่ดี ๆ ก็โป้ง! ขึ้นมาถ้าเกิดมันน่าสนใจมาก เราก็จะไปสนใจ แต่ถ้าเกิดมันแบบ โป้ง! ขึ้นมา แล้วมันน่าเบื่อ ๆ เราก็มีแนวโน้มจะสนใจลดลง แต่อาจจะสนใจสำหรับบางคนนะ แต่แนวโน้มก็จะลดลงนะครับ ถึงเป็นเหตุผลว่าทำไมบางคนถึงบอกว่า

ต้นทุนโฆษณา Facebook ของตัวเองบางครั้งก็ถูก บางครั้งก็แพง เพราะว่าบางทีมันเกิดจาก คอนเทนต์เราน่าสนใจแค่ไหนด้วย ถ้าน่าสนใจมาก ต้นทุนมันก็จะถูก ถ้าน่าสนใจน้อยต้นทุนมันก็จะแพง อันนี้ธรรมชาติอยู่แล้ว นะครับ

ดังนั้น เราลองนึกดูสมมติ สมมติเราเล่น Facebook อยู่ มีรูปเพื่อนเราไปเที่ยวภูเขาฟูจิสวยมาก เราเห็นปุ๊บโอ้โห!อยากไป สวย ดอกซากุระบานสะพรั่ง เราเกิดกิเลสแล้วมีแนวโน้มที่เราจะสนใจ เล่น ๆ อยู่ตอน 5 ทุ่มครึ่ง เลื่อนดู Facebook มีคนโพสต์รูปอาหารซีฟู้ด แบบมันเยิ้ม กุ้งมันเยิ้มจิ้มน้ำจิ้ม โป้ง! ขึ้นมาตอน 5 ทุ่มครึ่ง เรารู้สึกหิวขึ้นมาทันที เพราะว่ามันมากระตุ้นอารมณ์เรากระตุ้นสัญชาตญาณเรา

สมมติว่าเราเล่น ๆ Facebook อยู่ มี topic เกี่ยวกับเรื่องหุ้นตก แล้วสมมติเราเป็นคนลงทุนอยู่ด้วย เปรี้ยง! ขึ้นมาเราก็เริ่มมีอารมณ์แล้ว แล้วก็สนใจไปดู สาว ๆ บางท่านนะครับเล่น Facebook อยู่เลื่อนไปเรื่อย ๆ มีเสื้อผ้ากางเกงแฟชั่น หรือกระเป๋า สวย ๆ โป้ง! ขึ้นมาเกิดอารมณ์สนใจ ก็เลื่อนดู หยุดดูใช่ไหม บางคนรวยมาก กำลังจะถอยรถใหม่ มีรถเบนซ์หรือว่ารถ BMW รุ่นสวย ๆ มีโปรโมชั่น เกิดสนใจ

ดังนั้น จะเห็นว่า Facebook มันเรียกร้องความสนใจ เราได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับ google search แต่ถามว่าเวลาใน Facebook มัน โป้ง! กระตุ้นอารมณ์ใส่เรา เป็นภูเขาฟูจิมา ถามว่าเราจะดูข้อมูลจากโพสต์นั้น จนสามารถตัดสินใจไปเที่ยวญี่ปุ่นได้เลยหรือเปล่า ผมมั่นใจว่าไม่ได้แน่นอนถูกต้องไหม ดังนั้นบางทีมันกระตุ้นเสร็จปุ๊บเราอยากปุ๊บ เรากลายเป็นต้องกลับไปเสิร์ช ใน Google เพื่อหาข้อมูลต่อ สรุป คือ

ถ้าธุรกิจคุณ ลูกค้าคุณ จะซื้อของคุณได้ต้องการข้อมูลเยอะ ต้องการเหตุผลเยอะ ต้องการหลักการเยอะ คุณควรจะลงโฆษณาใน Google

แต่ถ้าสินค้าของคุณเรียกว่า เน้นอารมณ์ ดีไซน์ แบบ หรืออรรถรสในการดู เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ คุณควรจะต้องเน้นโฆษณาใน Facebook

ทีนี้ผมจะบอกว่า บางธุรกิจมันก็ใช้ได้ทั้งคู่ อย่างธุรกิจท่องเที่ยว มันก็ลงโฆษณาใน Facebook ได้ เพราะมันกระตุ้นอารมณ์ได้ แต่ในขณะเดียวกันมันก็ต้องการข้อมูลในการตัดสินใจ ก็ไปลงโฆษณาใน Google ได้

สรุปแล้วเราควรจะต้องคิดอย่างไรกันแน่!

ผมก็บอกว่าจริง ๆ เรื่องที่คุณต้องทำความเข้าใจ มันคือเรื่อง Customer Journey หรือเรื่อง Buying Funnel คือ step ความสนใจของลูกค้า ในแต่ละ step ของธุรกิจคุณ

เขาจะเข้า Google หรือเข้า Facebook ถ้าเข้า Facebook พฤติกรรมเขาจะเป็นอย่างไร

ถ้าเข้า Google พฤติกรรมเขาจะเป็นอย่างไร?เขาจะเสิร์ชด้วย keyword แบบไหน

เขาจะเสิร์ช keyword กว้าง ๆ เขาจะเสิร์ชว่าเที่ยวญี่ปุ่นเมืองไหนดี เขาจะเสิร์ชว่าเที่ยวญี่ปุ่นเดือนไหนดี หรือเขาจะเสิร์ชว่าเที่ยวญี่ปุ่น มิถุนายน 2561

หรือเขาจะเสิร์ชว่าเที่ยวญี่ปุ่น โปรไฟไหม้ หรือเขาจะเสิร์ชว่า ทัวร์ดิสนีย์แลนด์ โตเกียว มิถุนายน 2561

เขาจะเสิร์ชแบบไหน ถ้าเขาเสิร์ชแบบผิวเผิน ก็แปลว่าเขาสนใจแบบผิวเผิน

ถ้าเขาเสิร์ชแบบเฉพาะเจาะจงมาก ก็แปลว่าเขาสนใจแบบเฉพาะเจาะจงมาก และนั่นอาจจะหมายถึง อยากจะซื้อ

ดังนั้น สรุป บางธุรกิจเหมาะกับ Google สุด ๆ บางธุรกิจเหมาะกับ Facebook สุด ๆ แต่ธุรกิจส่วนใหญ่เหมาะทั้งคู่ แต่คุณจะเลือกเข้าหาลูกค้าที่จังหวะไหนอันนี้เป็นสิ่งที่คุณต้องทำความเข้าใจและต้องทำการบ้านนะครับ

ทีนี้อีกประเด็นหนึ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ ลูกค้าปัจจุบันนี้เขาไม่ได้จบที่ใดที่หนึ่งเป็นที่ ๆ หมายความว่า

“เขาไม่ได้เข้า Google แล้วก็ขลุกอยู่ใน Google แล้วก็จบ”

“เขาไม่ได้เข้า Facebook แล้วก็ขลุกอยู่ใน Facebook แล้วก็จบ”

คือคนทุกคนข้ามไปข้ามมาตลอดเวลา เดี๋ยวเข้า Google search เข้าเว็บไซต์ ไปดู Facebook เดี๋ยวก็ไปเล่น Line เดี๋ยวก็ไปดู Youtube แล้วก็ไปเล่น Facebook ใหม่ แล้วก็กลับมา search ใหม่ เขาข้ามไปข้ามมาตลอด

ดังนั้น แปลว่าลูกค้าของคุณอยู่ทุกที่นั่นแหละ ต่อให้คุณเป็นธุรกิจ B2B อย่างเช่น คุณขายเครื่องจักรอุตสาหกรรม สมมติคุณขายระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงาน อันนี้เหมาะกับ Google มาก แต่ใน Facebook คุณก็ต้องใช้ แทคติกบางอย่างทำด้วยเหมือนกันนะครับ

ยกตัวอย่างเช่น พวกโฆษณาแบบติดตามทั้งหลาย พูดง่าย ๆ ว่าเขาเสิร์ชเจอคุณเสร็จปุ๊บ เข้ามาในเว็บไซต์คุณแล้ว สนใจเครื่องจักรคุณแล้ว แต่…

เขาออกไปใน Facebook เขาควรจะเจอคุณต่อ

เขาออกไปใน Youtube เขาควรจะเจอคุณอีก

เขาไปเล่น Line เขาควรจะเจอคุณอีก

เขาไปเสิร์ช Google เขาควรจะเจอคุณอีกรอบ

เขาไปเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตร Google เขาควรจะเจอคุณอยู่เป็นระยะ

ดังนั้น ถ้าเขากำลังเปรียบเทียบหลาย ๆ เจ้าอยู่ แล้วคุณเป็นเพียงเจ้าเดียวที่เขาเจอทุกที่ โอกาสที่เขาจะเลือกคุณย่อมมากขึ้นแบบมีนัยสำคัญ และนั่นก็จะทำให้ยอดคุณเพิ่มมากขึ้น แล้วก็กำไรมากขึ้น แล้วก็แบรนด์คุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น

สรุปแล้วก็คือลูกค้าอยู่ทุกที่ เลือกใช้จังหวะให้ถูก ธุรกิจคุณผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ ณ วันนี้ต้องใช้ทั้งคู่นะครับ ถ้าเราไปใช้ Google อย่างเดียว เราก็เสียโอกาส เสี่ยงเกินไป ค่าคลิกก็ค่อนข้างสูง ถ้าเราใช้ Facebook อย่างเดียวค่าคลิกก็แพงขึ้นทุกวัน ๆ ควรต้องหาช่องทางเพิ่มเติมที่ทำกำไรให้คุณได้

Google ก็ส่วน Google

Facebook ก็ส่วน Facebook

หมายความว่า Google คุณทำยอดได้ 1 ล้าน ต่อเดือน Facebook ก็ทำยอดได้อีก 8 แสนต่อเดือน ก็รวมกันได้ 1.8 ล้าน ไม่ใช่แบบทำ Google ได้ 1 ล้าน

ไปทำ Facebook แล้ว Google จะลดลง ไม่เกี่ยว อาจจะมีผลนิดหน่อยเพราะบางทีมันเป็นคนเดียวกัน แต่ว่าโดยรวมทำทั้งคู่ โดยมากยอดก็จะเพิ่มทั้งคู่ ทำมากกว่านี้ยอดก็จะเพิ่มมากกว่านี้

จริง ๆ แล้ว Google Adword มีเครื่องมืออีกเยอะนะครับ มี Youtube มี GDN มีอะไรเยอะแยะมากมายเลย ที่ดีไม่แพ้ Search และ Facebook เลย ณ วันนี้นะ ผมกำลังพูดถึงในแง่ของทั้งยอดขาย และ Brand Awareness

ดังนั้น หาข้อมูลเพิ่มเติม เรียนรู้เพิ่มเติมฟังแง่คิดอื่น ๆ จากประสบการณ์ที่ผมดูลูกค้ามาเยอะมาก ดูธุรกิจมาเยอะมาก ๆ นับไม่ถ้วน ทำธุรกิจของตัวเองด้วย แล้วก็อยู่ในวงการนี้มาค่อนข้างนาน ก็อยากให้ลองฟังทั้งใน Facebook และ Youtube ผมพูดไว้หลายเรื่องมากนะครับทั้ง

“เรื่อง Google Facebook”

“เรื่องวิธีคิดเรื่องเทคนิคอะไรต่าง ๆ”

“เรื่องแก่น เรื่องสำคัญต่าง ๆ”

แต่ละตัวบางตัวก็สั้น 5 นาที 10 นาที บางตัวก็ยาวเป็นครึ่งชั่วโมงนะครับ Facebook Live บางอันก็ยาวถึง 3 ชั่วโมง ผมเชื่อว่าดูหมดนี่ ท่านจะได้จิ๊กซอว์ได้ภาพอะไรที่ครบถ้วนมากขึ้น จะทำให้การตลาดออนไลน์ของคุณดีขึ้น แล้วก็ธุรกิจของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอน