สวัสดีครับ สำหรับ blog นี้ ผมเขียนขึ้นมาเพื่ออธิบาย policy หรือนโยบายการ Broadcast ของ Facebook อย่างละเอียดที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่สนใจจะ Broadcast ไปละเมิดนโยบาย แล้วโดน Facebook ปิดตัว Inbox เอานะครับ

ก่อนอื่นมาดูกันว่า การส่งข้อความ broadcast เข้า inbox ลูกค้าเรา มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

  1. Subscription Messaging
  2. Standard Messaging
  3. Sponsored Messaging

Subscription Messaging คืออะไร?

Subscription messaging คือ การส่ง broadcast อะไรก็ตามที่ไม่ใช่การ “ขายของ” ถ้าภาษาอังกฤษ จะใช้คำว่า non-promotional message

ยกตัวอย่างการใช้ Subscription Messaging

  1. ถ้าเป็นธุรกิจอสังหาฯ อาจจะส่งข่าวสารเรื่องนโยบายใหม่ของรัฐ เกี่ยวกับอสังหาฯ
  2. ถ้าเป็นธุรกิจเครื่องสำอางค์ อาจจะส่งความรู้เกี่ยวกับการดูแลผิว
  3. ถ้าเป็นธุรกิจการสอน อาจจะส่งความรู้ หรืออัพเดตเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ตนเองสอน

เงื่อนไขในการส่ง Subscription Messaging

1. เราต้องทำการ Request ขออนุญาติ เพื่อส่งข้อความแบบ Subscription Messaging ในแฟนเพจเรา จาก Facebook

สำคัญมาก! คลิกเพื่อดู วิธีการขอ Request ส่ง Subscription Messaging (ผมขออยู่ 6 รอบ ผ่านแล้ว!)

http://www.pakorn.in.th/chatbot/วิธีขออนุญาติจาก-facebook-ให้ส่/

2. ห้ามส่งข้อความขายของเด็ดขาด (Promotional message)

Standard Messaging คืออะไร?

Standard Messaging คือ ข้อความที่เราสามารถส่งหาลูกค้า ภายใน 24 ชั่วโมงล่าสุด ที่เค้าแชท Inbox มาหาเราได้ (ย้ำว่า เค้าแชทมาหาเรานะครับ ไม่ใช่เราแชทไปหาเค้า)

ซึ่ง Standard Messaging เราสามารถส่งเป็นข้อความขายของได้! (Promotional message) และ Facebook ยังอนุญาติให้เราส่ง อีก 1 ข้อความ follow up ขายของได้หลังจาก 24 ชั่วโมงแรกไปแล้ว อีก 1 ข้อความ (ส่งนานแค่ไหนก็ได้)

กฎนี้จะมีชื่อเรียกว่า 24 + 1 ยกตัวอย่างเช่น

สมมติ นาย John Wick ทักเข้ามาใน Inbox ของผมวันที่ 1 มกราคม 2562 เวลา บ่ายโมงตรง

ผมจะสามารถส่งข้อความขายของ หานาย John Wick นี่ได้ ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ก็คือภายใน 2 มกราคา 2562 เวลาบ่ายโมงตรง 1 ครั้ง

และหลังจาก 2 มกราคม 62 เวลาบ่ายโมงตรงแล้ว… ผมยังสามารถส่งข้อความ Follow up ขายของนาย John Wick ได้อีก 1 ข้อความ จะส่งเมื่อไหร่ก็ได้ (ตามที่ Facebook เค้าบอกนะ)

และถ้านาย John Wick เข้ามาทัก Inbox ผมอีกครั้งเมื่อไหร่ กฎ 24+1 ก็จะทำงานซ้ำอีกครั้ง คือเราสามารถส่งข้อความขายของได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากนั้น และ อีก 1 ข้อความ follow up เมื่อไหร่ก็ได้อีกที

หมายเหตุ Standard Messaging ไม่จำเป็นต้องขออนุญาติจาก Facebook เหมือน Subscription Messaging นะครับ

Sponsored Messaging คืออะไร?

อธิบายง่ายๆคือ Messaging ที่เราต้อง “ซื้อโฆษณา” ผ่านระบบของ Facebook ครับ

Sponsored Messaging อธิบายง่ายๆก็คือ ทำขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในกรณีที่เราส่ง Standard Messaging ไม่ได้แล้ว( เพราะเกิน 24 ชั่วโมงแรก หรือ 24-hour messaging window ไปแล้ว)

เพราะเราสามารถส่งข้อความแบบนี้ “เมื่อไหร่ก็ได้”

ขั้นตอนแบบคร่าวๆ ถ้าเราอยากส่งแบบนี้ก็คือ

  1. ให้สร้าง Campaign และเลือกเป็น Messaging Objective
  2. ตอนสร้าง Adset ให้เราเลือก ตรง Message Destination เป็น Sponsored Message ครับ แล้วตัว Placement ข้างล่าง มันก็จะเปลี่ยนตามครับ (ดูภาพประกอบด้านล่าง)
  3. ตอนสร้าง Ad ก็ Setup ไปตามปกติได้เลย (แต่จะเลือก Use Existing post ไม่ได้แล้วนะครับ)

ภาพประกอบ ขั้นตอนที่ 2 : เลือก Message Destination
ภาพประกอบ ขั้นตอนที่ 2 : Placement ก็จะกลายเป็นมีแค่ Sponsored Messages ตัวเดียวละครับ

หากละเมิดนโยบาย จะโดนอะไร?

นี่คือข้อความที่เราอาจจะได้รับหากเราละเมิดนโยบาย

This page is restricted from the use of message tags, subscription and broadcast messaging, and sponsored messages. Your page will still be able to respond to messages according to standard messaging permissions.

แปลง่ายๆก็คือ เราไม่สามารถส่งข้อความ Broadcast ที่ผมกล่าวไปทั้ง 3 ประเภทข้างต้นได้

ต้องทำการ Appeal แล้วก็รอการอภัยโทษจากทีม Policy ของ Facebook นั่นเอง

จะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีโอกาสโดน Disable การ Broadcast

ให้กดไปดูที่ Insights > Messenger และดูที่อัตรา Block rate ครับ

ดูอัตรา Block Rate จากใน Page Insights > Messenger

1-2% : อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ไม่มีอะไรน่าห่วง

3-5% : สูงกว่าค่าเฉลี่ย (เริ่มเข้าจุดอันตราย) ต้องติดตามดูอย่างเร่งด่วนว่าอะไรทำให้ อัตราการ Block เริ่มสูงขึ้นมา และต้องหาวิธีลด

6-8% : อยู่ในจุดอันตราย! หยุด broadcast และตรวจสอบหาทางแก้ด่วนๆ บางคนถึงจุดนี้อาจจะโดน Facebook disable การ broadcast ไปแล้ว

สุดท้ายนี้ ฝากเตือนทุกท่านด้วยความปรารถนาดีว่า ถ้าจะส่ง broadcast ใน Facebook ต้องศึกษา Policy หลักๆให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันการละเมิดนโยบายโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัวและนำมาซึ่งปัญหาในภายหลังนะครับ ^^

อ้างอิง : https://developers.facebook.com/docs/messenger-platform/policy/policy-overview/