คลิปนี้ผมจัดทำขึ้นมา ความยาวค่อนข้างจะยาว ประมาณ 20-30 นาที
ผมอยากให้ คนที่ยอดขายเกิน 7 หลักต่อเดือนขึ้นไปได้ประโยชน์จากคลิปนี้

ผมจึงทำหัวคลิปให้ชัดเจนเลยว่าผมกำลังคุยกับคุณอยู่ อยากให้คุณดูคลิปนี้จนจบ ผมรู้ดีว่าคุณมีปัญหาอะไรมีความกังวลอะไร ผมจะเกริ่นแบบนี้นะครับปกติแล้วจากประสบการณ์ของผม พบว่าคนที่ยอดขายเกิน 7 หลักต่อเดือน ตอนนี้จะมีปัญหาอยู่ประมาณ 2-3 เรื่อง

เรื่องแรกคือ ยอดขายคุณอาจจะลุ่ม ๆ ดอน ๆ อยู่ มันอาจจะได้ 7 หลักต่อเดือนก็จริง แต่ผมเชื่อว่าบางคนยังมีความกังวลอยู่ว่า วันนี้บางทีมันก็ดีขึ้นมา วันนี้บางทีมันก็แย่ หรือก่อนหน้านี้คุณอาจจะเคยดีกว่านี้และตอนนี้ ตกลงมาเล็กน้อย หรือปานกลางหรือมาก หรือคุณอาจจะไม่เจอปัญหาเหล่านั้นเลย แต่คุณรู้สึกกังวลรู้สึกพะวงอยู่ว่า มันจะมีเรื่องอะไรที่เราไม่คาดฝันเกิดขึ้นหรือเปล่า เพราะว่า Facebook ก็ปรับเปลี่ยนอยู่เรื่อย ๆ เครื่องมือการตลาดออนไลน์ทุกตัว นอกจาก Facebook ก็ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด ผมรู้ว่าคุณอาจจะมีความกังวลในแง่นี้ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่จิตใจเข้มแข็งมาก คุณอาจจะไม่ได้กังวลเรื่องพวกนี้เลย อันนี้ก็น่าชื่นชมมาก แต่ว่าคุณก็อาจจะกำลังมองหา opportunity ว่าคุณจะมองหาโอกาสปรับปรุงเสริมความรู้ที่สำคัญในการเพิ่ม performance ของโฆษณาทุกตัวบนออนไลน์ที่คุณใช้อยู่หรือตัวที่คุณไม่เคยใช้ คุณจะลองทำเพิ่มได้อย่างไร

ผมแนะนำให้คุณลองฟังคลิปนี้ ลองลงทุนเวลา 20-30 นาที เปิดฟังในรถก็ได้ คุณฟังสักสองรอบสามรอบ คุณจะสามารถเอาแก่นเอาไอเดียเหล่านี้ ไปต่อยอดได้ เพิ่มเติมทำให้ยอดขายคุณ ยั่งยืนและเติบโตได้ บวกกับอีกข้อหนี่งครับก็คือ เมื่อสามปีที่แล้วการทำโฆษณาในเฟสบุ๊คมันค่อนข้างง่ายมาก

ผมใช้คำจากกูรูท่านหนึ่งนะครับ ใช้คำเดียวกับแกเลยนะ 3 ปีที่แล้วเป็นยุค “ลิงยิงก็รวย” 

คือเราไม่ต้องมีความรู้อะไร ในการโปรโมท Facebook เลย เราแค่เอามือถือขึ้นมาแล้วกด boost Algorithm บอกว่า โพสต์นี้กำลังทำผลงานได้ดีแล้วก็กด boost ไปเลย แล้วมันก็ทำให้เราได้ยอดขายเลย โดยที่เราไม่ต้องศึกษาอะไรมากมายเลย

แต่วันนี้ใครที่ใช้วิธีนั้นจะพบว่า มันแทบจะไม่ได้ผลอีกแล้ว แทบจะไม่เห็นอะไรเลย โพสต์ไป ยิงโฆษณาไป ใส่เงินเข้าไป 700-1000 แทบจะไม่เห็นอะไรเลย

ถ้าคุณยิงโฆษณาแบบไม่มีความรู้อะไรเลย คือ

“คุณไม่เลือก targeting”

“คุณไม่ทำการบ้านเรื่องกลุ่มเป้าหมาย”

“คุณไม่คิดคอนเทนท์ให้มันน่าสนใจ”

“คุณไม่ทำการบ้านเลยว่า ลูกค้าอ่านคำว่าอะไรแล้วอยากซื้อของ”

ผมเชื่อว่าอย่างน้อย คุณต้องคุ้นเคยกับการใช้โฆษณา Ad manager ใน Facebook ผมกำลังพูดถึงยอดขาย 7 หลักจากออนไลน์นะไม่ใช่จากออฟไลน์ ถ้าคุณยอดขาย 7 หลักจากออนไลน์ ผมเชื่อว่า Facebook คุณต้องมีความเข้าใจมากระดับหนึ่งแล้ว แต่ทีนี้สิ่งที่คนได้ยอดขาย 7 หลัก ที่ผมเคยเจอหลาย ๆ ท่าน ที่ยังมีความเข้าใจผิดอยู่ ผมจะแนะนำทั้งหมด 5 เรื่องด้วยกัน ลองฟังดูแล้วกันว่ามีข้อไหนที่สามารถทำให้ดีหรือไปเสริมหาความรู้เพิ่มเติมให้มันแน่นแฟ้นมากขึ้นได้เพื่อผลลัพธ์ของตัวคุณเอง

ข้อที่ 1 คุณต้องเข้าใจเครื่องมือโฆษณาบนออนไลน์ทุกตัว

เครื่องมือโฆษณาบนออนไลน์ที่สำคัญทุกตัว คุณต้องทำความเข้าใจให้หมด โดยเฉพาะในตลาดไทยตัวที่เข้ามาใหม่ ตัวที่อยู่มานานแล้ว อย่างน้อยคุณควรจะต้องรู้ว่า ตัวไหนควรจะใช้เมื่อไหร่ ตัวนี้เป็นสนับมือ ตัวนี้เป็นมีด ตัวนี้เป็นปืน คุณควรจะรู้ว่าควรจะใช้มีดตอนไหน คุณควรจะใช้ปืน ที่มันเสียงดังแต่ประสิทธิภาพ
สูงกว่ามีดที่มันเสียงเงียบ แต่มันใช้ได้ระยะสั้นกว่า คุณควรจะต้องทำความเข้าใจว่า เครื่องมือไหนเหมาะกับคุณที่สุด กับสถานะการณ์ของคุณตอนนี้ และเหมาะกับกลยุทธ์นี้ และเหมาะกับวัตถุประสงค์นี้ ผมยกตัวอย่าง เช่น เมื่อห้าปีที่แล้ว SEO (Search Engine Optimization) ทำค่อนข้างง่าย ดังนั้น คนที่ตั้งใจทำ SEO (Search Engine Optimization)โดยศึกษาอย่างถูกต้องก็จะค่อนข้างเห็นผลลัพธ์ได้รวดเร็ว 5 ปีที่แล้วใน Google Adwords ก็ถือว่าทำง่ายเช่นเดียวกัน การแข่งขันยังต่ำมาก จริง ๆ แล้วมีเครื่องมือโฆษณา หลากหลายตัวด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • Search Engine Optimization (SEO)
  • โฆษณา Search Engine Marketing (SEM)
  • โฆษณาแบบ Google Display Network (GDN)
  • โฆษณาแบบวิดีโอ Youtube Advertising
  • โฆษณาแบบ Google Display Network – Remarketing (GDN)
  • โฆษณาแบบ Youtube remarketing
  • โฆษณาแบบ Remarketing for search
  • โฆษณาแบบ Google Display Network แบบ interest (GDN)
  • โฆษณาแบบ Google Display Network แบบ placement (GDN)
  • โฆษณาแบบ Google Display Network แบบ custom intent audiences (GDN)

คุณจะเห็นว่าที่ผมพูดมา บางตัวคุณอาจจะไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำแต่ให้เข้าใจง่าย ๆ อย่างนี้แล้วกัน คือ สมมติว่าโฆษณา search แต่ก่อนเราเคยมีความเชื่อใช่ไหมว่า Search คือตัวรับ แปลว่าเราซื้อ keyword คำนี้ดักไว้ รอให้คนพิมพ์เข้ามาแล้วเขาก็มาเจอคุณ คุณจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าสำหรับผม โฆษณา Search คือการที่เราเข้าไปหาลูกค้าในจังหวะที่เขาต้องการ ต้องการอะไร เราก็ต้อง identify ให้ชัด เขาต้องการซื้อหรืออยากรู้เฉย ๆ หรือเขาต้องการเปรียบเทียบ ถ้าเราแน่ใจว่า keyword ที่เราซื้อ มันเป็นจังหวะที่เขาต้องการซื้อ นั่นแปลว่าเรามีโอกาสที่จะได้ยอดขายจากตรงนั้นมากที่สุด แต่ถ้าเราอยากได้คนซื้อ แต่เราเข้าไปจังหวะที่เขากำลังเปรียบเทียบ โอกาสในการซื้อมันก็ย่อมต่ำกว่า เราเข้าไปหาตอนที่เขาตั้งใจจะซื้อถูกต้องไหม อันนี้คือ Google search นะครับ เคล็ดลับของมันอย่างหนึ่งคือ เราควรจะเข้าไปให้ถูกจังหวะและเข้าไปด้วยข้อความที่ถูกต้องเข้าไปด้วยคอนเทนท์ รวมทั้ง Landing page ทั้งข้อความ โฆษณารวมทั้ง Banner ที่เราใช้ รวมทั้งวีดีโอในหน้า Landing page แบรนด์ของเรา สีของเรา กราฟิกของเรา ทุกอย่างมันคือคอนเทนท์ทั้งนั้น

ผมกำลังหมายความว่าอย่างนั้น เราเข้าไปได้ถูกจังหวะ ตอนที่เขากำลังอยากได้ ทีนี้คุณก็ต้อง identify อีกว่า objective ของคุณคืออะไร คือคุณต้องการยอดขายบวกกำไรให้มากที่สุด หรือคุณต้องการยอดขายแต่ขอ volume เยอะ กำไรน้อยไม่เป็นไร อันนี้มันจะทำให้คุณต้องลงรายละเอียดในการเลือก keyword ถ้าคุณต้องการกำไรมาก คุณต้องเลือก keyword โดยตอนที่เขาค้นหาเขาอยากซื้อมากที่สุด นั่นก็คือ keyword ที่เฉพาะเจาะจงที่สุดนั่นเอง

แต่ถ้าคุณอยากได้ volume เยอะ ๆ โดยที่กำไรน้อยหน่อยไม่เป็นไร คุณก็ต้องเข้าไปหา keyword ที่ปริมาณการค้นหามันสูง แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องหาใน keyword ที่เขาอยากซื้อสูงที่สุด พูดง่าย ๆ ก็คือถ้าเราอยากได้กำไร เราจะต้อง lean กลุ่มเป้าหมายเราให้ไขมันแทบไม่เหลือเลย แต่ถ้าเราต้องการยอดขายกับ volume เราไม่ต้อง lean ขนาดนั้นก็ได้ แต่คุณอย่าบอกว่าคุณต้องการ volume แล้วคุณก็ต้องการกำไรแบบ lean ด้วยซึ่งในทางปฏิบัติจากประสบการณ์ผม มันเป็นไปได้ยากมาก ๆ ยกเว้นแต่คุณมี advantage อื่น ๆ เช่น แบรนด์คุณสุดยอดมากกระแสกำลังพีคกำลังมา ในอุตสาหกรรมของคุณอะไรอย่างนี้ ผมยกตัวอย่างเช่น

ช่วงที่ T25 บูมขึ้นมาก็ขายเอา volume และเอากำไรเยอะได้

ช่วงปีนี้ BNK48 ประมูลภาพกัน 3-4 แสน มันก็ทำทั้ง volume และกำไรได้

ถ้าคุณมีปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นมาเสริมสามารถเป็นไปได้ แต่ในสถานะการณ์ปกติคุณต้องเลือกเอาสักอย่างหรือคุณจะผสมทั้งสองอย่างก็ได้ คืองบก้อนนี้ผสมกับ
กลยุทธ์ความต้องการแบบนี้ ซึ่งเดี๋ยวผมจะพูดในคำแนะนำข้อที่ 5 นะครับ

เมื่อกี้ที่ผมพูดไปคือ Google search ทีนี้โฆษณาแบบ GDN แบบ banner แต่ก่อน 3-5 ปีที่แล้ว มันเป็นตัวที่เอาไว้สร้าง Brand Awareness Banner คือเราไปขึ้น ในเว็บพันธมิตรของ Google เช่น Youtube เช่น เว็บแบใต๋ไฮเทค เช่น เว็บกระปุก เว็บสนุก ผมเชื่อว่าคุณยอด 7 หลัก คุณน่าจะคุ้นกับคำพวกนี้ ผมคงไม่ต้องลงเบสิคมาก แต่เอาเป็นว่าเผื่อใครที่ยอด 6 หลักแล้วฟังอยู่ ตัว Banner แต่ก่อนมันเอาไว้สร้าง brand awareness เพราะอะไรก็เพราะว่า คุณลองคิดดูสมมติ เราเข้าไปดูเว็บกระปุก,สนุก อยู่ดี ๆ แล้วมี Banner อะไรก็ไม่รู้ขึ้นมาตัวหนี่ง สมมติว่าเป็น Gopro โผล่ขึ้นมาอย่างนี้ คือคุณกำลังดูอีกเรื่องหนึ่งอยู่ แล้วมันมี Banner มาแทรก ดังนั้น โอกาสที่คุณจะเปลี่ยนใจจากเรื่องที่ดู ผมยกตัวอย่างอย่างนี้แล้วกัน สมมติว่าคุณกำลังดู Youtube ดูละครย้อนหลังหรือดูคลิปอะไรอยู่สักอย่างหนึ่ง แล้วอยู่ ๆ ก็มีโฆษณาขึ้นมาแทรก ต่อให้โฆษณานั้นจะน่าสนใจขนาดไหน มันอาจจะทำให้คุณหยุดดูได้ แต่มันยากเหลือเกินที่จะทำให้คุณ เลิกดูคลิปตัวนั้นที่คุณกำลังดูแล้วไปซื้อของแทน ณ ตอนนั้นเลย มันยากเกินไป ดังนั้น GDN จึงเอาไว้ เน้นการสร้าง Brand awareness เป็นหลัก

เมื่อสักครู่ผมเน้นตัวอย่าง ข้ามไปที่ Youtube เพื่อให้เห็นภาพ แต่ว่าปัจจุบันนี้ GDN สามารถทำยอดขายได้แล้วทำยอดขายโดยที่กำไรดีด้วย มีลูกศิษย์ผมบางราย ที่ยอดขายและกำไรจาก GDN ดีกว่า Search เสียอีก และดีกว่าโฆษณา Facebook เสียอีกด้วย ดังนั้น กลายเป็นว่า ถ้าคนที่ชอบใช้คำว่า บุก รับอะไรอย่างนี้ GDN ก็มีตัวเอาไว้รุกได้เหมือนกัน มันต่างจากแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบนี้ได้อย่างไร เพราะว่าการเลือกกลุ่มเป้าหมายเทคโนโลยีเขาพัฒนาขึ้น แต่ก่อนเราจะต้องเลือกว่าเราจะไปลงที่ไหน เราจะไปลงกับคนแบบไหน เราต้องอ่านเกมก่อนว่า ลูกค้าเราเขาไปสุงสิงอยู่ที่ไหนกัน

สมมติว่าผมเป็นโรงเรียนกวดวิชา ผมก็จะนึกว่าไปสุงสิงกันที่เว็บเกี่ยวกับการศึกษา เกี่ยวกับทุนการศึกษา เกี่ยวกับเด็กดีใน section การศึกษาผมก็จะคิดล่วงหน้าไป แล้วผมก็จะเอา Banner ไปแปะตรงนั้น คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายก็จะเห็น แต่ว่าความเป็นจริงแล้ว บางครั้งคนที่เข้าไปตรงนั้น มันก็ไม่ใช่คนที่มีความต้องการจริงซะทุกคน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทำให้เราสามารถเลือกที่จะตามตัวบุคคลได้เลย ความหมายคือว่ามันจะอารมณ์เหมือน Facebook เราไม่ต้องสนใจแล้วว่าเว็บไหนเกี่ยวกับการศึกษา เราขอแค่มนุษย์คนนี้ หรือมนุษย์คนไหน จำนวนหนึ่งที่กำลังสนใจเรื่องกวดวิชา ซึ่งมนุษย์คนนั้นอาจจะเป็นเด็กที่จะต้องไปเรียนเองหรืออาจจะเป็นคุณแม่ที่กำลังหาที่ให้ลูกเรียน แต่ว่าบางทีถ้าเราไปโฟกัส บางเว็บ อย่างเช่น ผมยกตัวอย่าง เว็บเด็กดี คุณอาจจะได้เด็กอย่างเดียวนะครับ คุณอาจจะไม่ได้คุณแม่ไง แล้วนอกจากเด็กกับคุณแม่มีอีกหลายคน ที่มีความสนใจด้วยเหตุผลบางอย่าง เขาอาจจะมาดูให้หลาน
เขาอาจจะมาดูให้เพื่อน เขาอาจจะมาดูให้น้องเขา ครูอาจจะมาดูให้ลูกศิษย์ อย่างนี้เป็นไปได้หมด GDN เราควรจะทำความเข้าใจว่ามันสามารถทำอย่างนี้ได้แล้ว มีโฆษณาอีกหลายตัว เช่นโฆษณาแบบ remarketing GDN remarketing แล้วก็มี Youtube เราก็ต้องเข้าใจว่าเครื่องมือแต่ละตัวมันทำอะไรบ้าง

ซึ่งอันนี้ผมคงไม่ได้เล่าทั้งหมดในนี้นะครับ อาจจะใช้เวลาหนึ่งวันเต็ม แต่ว่าผมเล่าคร่าว ๆ ก็คือ คุณควรต้องทำความเข้าใจว่าแต่ละตัว มันดีเด่นต่างกันอย่างไรซึ่งคุณก็อย่าเพิ่งไปฟิกซ์ซะ 100% ว่า Facebook มันต้องบุกนะ มันต้องบุกอย่างเดียวอะไรอย่างนี้ จริง ๆ เดี๋ยวนี้ผมบอกเลยว่าทุกเครื่องมือ มันเป็นตัวบุกตัวรับในเวลาเดียวกันได้หมด

Facebook ก็เป็นตัวรับได้เป็นตัวบุกได้

GDN ก็เป็นตัวรับเป็นตัวบุกได้

Search อาจจะเป็นตัวรับได้อย่างเดียว บุกไม่ได้

Youtube เป็นตัวรับตัวบุกได้

คือเดี๋ยวนี้มันผสมปนเปกันไปหมดแล้ว Line@ รับเสร็จก็บุกต่อ คุณต้องผสานส่วนผสมเหล่านี้ ให้มันเหมาะกับของคุณมากที่สุด

ดังนั้นข้อที่หนึ่ง “คุณต้องเข้าใจเครื่องมือโฆษณาทุกตัวของคุณ” ว่าตัวไหนควรจะใช้เมื่อไหร่ ผมอาจจะไม่ได้พูดในนี้ทั้งหมดนะ แต่ว่าตัวอื่น ๆ ที่ผมไม่ได้พูดนอกเหนือจากนี้ คุณก็ต้องศึกษาเหมือนกัน อย่างเช่นเรื่องของพวก Influencer / Micro influencer คุณก็ต้องศึกษาเรื่องอะไรพวกนั้นเหมือนกัน หรือจะเป็นอะไรที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือว่า Platform ที่มันกำลังมา กำลังเพิ่งมา คุณควรเข้าไปลองเล่นลองสัมผัส ลองแย็บ ๆ ลองหาข้อมูลศึกษาดู ซึ่งเดี๋ยวนี้ข้อมูลหาง่ายมาก ๆ เลย อยู่ที่เรามีระบบการกลั่นกรองที่เร็วและย่อยได้ดีขนาดไหน

ข้อที่ 2 คุณต้องเข้าใจเรื่อง segmentation 

ก็คือการจำแนกกลุ่มลูกค้าของเราออกมา เป็นแบบต่าง ๆ ผมเชื่อว่า คุณคงพอจะเคยได้ยินศาสตร์เกี่ยวกับ marketing นะครับ เรื่อง positioning STP Segmentation/Targeting/Positioning บอกเลยว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในทฤษฎีเหล่านั้น เพราะว่าผมจบวิศวะ แต่ว่าเรื่องพวกนี้มันใช้ได้จริงและมันใช้ได้ดีมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในยุคของโฆษณาออนไลน์ เพราะว่าเราสามารถระบุลักษณะของคนได้ชัดเจนขึ้น ผมยังเจอลูกศิษย์ที่ยอดส่วนใหญ่จะหกหลักต่อเดือน แล้วยังมีความคิดผิด ๆ อยู่อย่างหนึ่งว่า เวลาเราเลือก target ยิ่งมากยิ่งดี อันนี้เป็นความคิดที่ผิดที่สุดเลยนะ คือการคิดว่ายิ่งมากยิ่งดี

ยกตัวอย่าง ผมเคยไปสอน in house ให้แบรนด์นมกล่องยี่ห้อหนึ่ง เป็นเบอร์ต้น ๆ ในไทย ผมก็กินกันมาตั้งแต่เด็กเลย ผมเชื่อว่าคุณก็กินเหมือนกัน นมเจ้านี้เขาก็สงสัยว่า ของเขามันเป็น mass product ยอดขายเขาแทบจะ เบอร์หนึ่งในประเทศ เขามีเหตุผลอะไรที่เขาจะต้อง Segment การ Segment มันจะช่วยเขาได้จริงหรือ คุยกันไปกันมาจนเขาตกผลึกว่า คือโปรดักเขาเรานึกกันง่าย ๆ นะ มีนมจืด นมเปรี้ยว นมหวาน นมช็อคโกแลต นมสตรอว์เบอร์รี สมมติผมเอาแค่สามนมพอ นมจืด นมสตรอว์เบอร์รี นมช็อคโกแลต คุณนึกภาพตามผมนะครับ ตอนเวลาผมสอนปกติในคลาสผมจะมีประมาณ 30 กว่าท่าน

ผมให้ 30 กว่าท่าน ช่วยตอบคำถามผมนะว่าคุณชอบนมอะไร เลือกได้รสเดียว จืด หวาน ช็อคโกแลต ผมก็ให้ยก ก็จะมีคน ยกนมจืด ยกนมหวาน ยกนมช็อคโกแลต นมหวานแทบไม่มีเลย นมจืดเยอะที่สุด นมช็อคโกแลตรองลงมา สมมติว่า

นมจืดมีคนชอบ 15 คน

นมช็อคโกแลตมีคนชอบ 10 คน

แล้วก็นมหวานมีคนชอบ 5 คน

ผมก็ถามว่า สมมติว่าเราไม่ Segment เลย เราเลือกรวม ๆ กัน ปน ๆ กันไป แล้วเราก็ยิงโฆษณาไป คุณจะเอานมอะไรไปขายเขา

1.นมจืด

2.นมหวาน

3.นมช็อคโกแลต

หรือ choice ที่ 4 คุณจะเอานม 3 รส แพ็คไปพร้อมกันเลย แล้วก็ขายกันไป โปรโมทสร้าง Awareness สร้างยอดกันไป

ผมบอกเลยว่าถ้ากลุ่มเป้าหมาย คุณรวม ๆ กอง ๆ กันแบบนี้นะ 4 choice เมื่อกี้ ไม่มีอันไหนเวิร์คสักอันหนึ่ง คือมันอาจจะเวิร์คระดับหนึ่ง แต่ว่า มันจะไม่ใช่วิธีที่เวิร์คที่สุด และไม่ใช่วิธีที่คุ้มค่า ค่าโฆษณาของคุณที่สุด เพราะว่าตอนนี้ยอดขายของคุณ 7 หลักแล้ว แปลว่างบโฆษณาของคุณ โดยส่วนใหญ่จะขึ้น 6 หลักกันแล้ว นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม คุณถึงเพิ่มงบแล้วยอดขายคุณเพิ่มมากกว่านี้ไม่ได้ก็เพราะว่าคุณไม่รู้ไงครับว่าตอนนี้ กลุ่มเป้าหมายที่มันกอง ๆ รวมกันอยู่ นมจืด นมเปรี้ยว นมหวาน รวม ๆ กัน มันเป็นอะไรเท่าไหร่ แล้วเวลาคุณยิงโฆษณา คุณก็ยิง งง ๆ ไป รวม ๆ กันไป เวลาตัวเลขมันออกมา คุณก็ไม่รู้อีกว่ามันเวิร์คหรือไม่เวิร์ค เพราะว่านมจืด นมหวาน นมช็อคโกแลต แล้วที่สำคัญนะยิ่งหนักเลยว่า คุณไม่รู้อีกว่าใครชอบอะไรแล้วคุณก็ยิงไป สมมติคุณเลือกใช้นมช็อคโกแลต คุณก็ต้องไปลุ้นว่าวันนี้มันจะไปเจอคนชอบนมจืด แล้วก็จะไปเจอคนชอบนมหวานหรือเปล่า คุณก็จะขายไม่ดี พออีกสามวัน Facebook หมุนกลุ่มเป้าหมายไป คุณเจอคนที่ชอบนมช็อคโกแลต แล้วคุณก็จะขายดี แล้วคุณก็จะงงว่า ทำไมเดี๋ยวมันดีเดี๋ยวมันไม่ดีอะไรอย่างนี้ ก็เพราะว่า Segment คุณมันกว้างเกินไป ควรจะ scope theme ให้มันชัด ซึ่ง theme มันก็มีได้หลากหลายมาก อันนี้ผมยกตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ

ทีนี้คุณลองคิดตามผมว่ามันจะดีกว่าไหมถ้า สมมติผมแยกในห้องสามสิบคน

คนชอบนมช็อคโกแลตนั่งทางซ้าย

คนชอบนมจืดนั่งตรงกลาง

คนชอบนมหวานนั่งทางขวา

แล้วผมก็เอาคอนเทนท์ เอานมจืดให้คนที่ชอบนมจืด เอานมหวานให้คนที่ชอบนมหวาน แล้วก็เอานมช็อคโกแลตให้คนที่ชอบนมช็อคโกแลต นั่นก็หมายความว่าคอนเทนท์ของผม มีแนวโน้มสูงมากที่คนทุกคนจะชอบ

ผมพูดให้ชัดอีกนิดนึงคุณลองนึกตามผมนะ ผมเคยสอน Facebook อยู่รุ่นหนึ่ง พอสอนเสร็จสามวันผมก็มายืนคุยกับลูกศิษย์ประมาณ 4-5 ท่าน แล้วก็มีท่านหนึ่งกำลังบรรยาย เกี่ยวกับสรรพคุณเกี่ยวกับอาหารเสริมของตัวเอง กำลังบรรยายอย่างเมามันเลยว่า มันเปลี่ยนผลลัพธ์อย่างนู้นอย่างนี้นะ มันทำให้เด็กลง หลั่งฮอร์โมนนู่นนี่ออกมา ก็พูด ๆ ไป ผมสังเกตเห็นลูกศิษย์ท่านหนึ่งมีอากัปกิริยา คุณเคยเห็นไหมคนที่เหมือนจะฟังคุณอยู่แต่จริง ๆ ไม่ได้ฟัง คือสมาธิไม่ได้อยู่มองนู่นมองนี่ รู้เลยว่าหลุกหลิกลอกแลกอยากจะไปแล้ว จนลูกศิษย์ผมอีกท่านที่กำลังพูดขายของอยู่ เขาก็หมุนคอนเทนท์ไป หมุนไป ๆ ก็ไปถึงคอนเทนท์หนึ่งคือ ยานี้เพิ่มสมรรถภาพทางเพศด้วยนะ เขาไม่ได้พูดชัดอย่างนี้ แต่ความหมายคืออย่างนี้ ผมเห็นอากัปกิริยาของลูกศิษย์ที่ดู หลุกหลิก ๆ ไม่สนใจเนี่ย ผมเห็นแววตาเขาเปลี่ยนไปทันทีเลย ผมเห็นแววตาที่เปล่งประกาย หันไปแล้วก็เริ่มมี Engagement เริ่มคุย แล้วสุดท้ายมีสัญญาณซื้อเกิดขึ้นเลย ถามขอแอด Line@ กันเลย ดังนั้น

ถ้าคนนั้นรู้ตั้งแต่แรกว่าคนนี้เป็นคนสนใจเรื่องเพศเป็นพิเศษใช่ไหม เป็นผู้ชายอย่างนี้ เขาก็สามารถที่จะยิงคอนเทนท์ให้ตรง แล้วมันก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าได้ดังนั้น คำแนะนำ ข้อที่สองคือคุณควรจะเรียนรู้เรื่อง “Segmentation”

ข้อที่ 3 เข้าใจเรื่องการทำคอนเทนท์ Content Marketing Strategy

หลังจากที่คุณแยกกลุ่มเป้าหมาย ตาม Segmentation แล้ว คุณควรจะใช้คอนเทนท์ให้ตรงกับ Segment เหล่านั้น จริง ๆ แล้วผมรวบตัวอย่าง
ลงไปในคำแนะนำข้อที่สองแล้ว ดังนั้น ข้อที่สามผมขออนุญาต skip ไปเลยก็แล้วกัน

ข้อที่ 4 เรื่องของการวัดผลและปรับปรุงการตลาดออนไลน์ (Online measurement)

เรื่องวัดผลเป็นเรื่องที่ผมมองว่า สำคัญที่สุดเลยนะสำหรับ คนที่ยอดขาย 7 หลักต่อเดือนขึ้นไปแล้ว เพราะว่าอย่างที่ผมได้ย้ำไปแล้ว ตอนนี้คุณใช้เงินโฆษณาต่อเดือนค่อนข้างสูง ผมเชื่อว่าคุณใช้อยู่อย่างน้อย 6 หลักต่อเดือน คุณถึงได้ยอด 7 หลักต่อเดือนได้ ดังนั้น

ปัญหาของคุณตอนนี้ผมรู้ว่ามันคืออะไร อย่างหนึ่งคือคุณเกิดความกลัวว่าบางวันยอดมันขึ้น ๆ ลง ๆ บางวันเราใช้งบเยอะเหมือนเดิมแต่ยอดน้อยลง บางวันใช้งบเยอะเหมือนเดิมแล้วก็ยอดเยอะขึ้น แล้วคุณก็งง ๆ อะไรอย่างนี้ แล้วคุณก็ไม่สบายใจนอนไม่ค่อยจะหลับ ซี่งสาเหตุหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุคลาสสิคเลยคือคนที่ทำอยู่ไม่เข้าใจเรื่องการวัดผลอย่างลึกซึ้ง ซึ่งผมบอกได้เลยว่า เดี๋ยวผมจะพูดเรื่องการวัดผล แล้วเชื่อว่าคุณน่าจะได้ประโยชน์ แต่ผมจะบอกว่าต่อให้คุณเข้าใจเรื่องการวัดผลละเอียดเท่าผมเลย ละเอียดเท่าผมที่เป็นเอเจนซี่ที่ดูแลลูกค้ามา 7-8 ปี แล้วผมดูลูกค้ามาแทบทุกวัน ดูเคสดูตัวเลขแทบทุกวัน ต่อให้คุณเก่งเท่าผมเลย แต่คุณไม่ทำเรื่องก่อนหน้าที่ผมพูด คือคุณไม่ Segment คุณไม่ทำคอนเทนท์ให้ตรงกับ Segment

การวัดผลมันก็จะใช้การไม่ได้อยู่ดี มันจะตีความให้ชัดเจนไม่ได้อยู่ดี นี่ไม่ใช่แค่เฉพาะ 2-3 ข้อ ที่ผมพูดไป แต่ยังหมายถึงเรื่องอื่น ๆ อีกที่เยอะแยะมากมายมหาศาลเหลือเกิน ผมจะพูดให้ชัดเจนว่าถ้าจิ๊กซอว์คุณไม่ครบ การวัดผลมันจะทำได้ไม่ดีเท่ากับจิ๊กซอว์คุณครบ ผมยกตัวอย่างเช่น

สมมติคุณทำคอนเทนท์ขึ้นมาแล้วคุณไม่ได้ใส่ link message Facebook เข้าไปในโพสต์ของคุณ แล้วคุณก็ไม่มีปุ่ม Call to action ไป Message Facebook ของคุณด้วย ถ้าเป็นอย่างนั้นคุณวัดผล โดยดูตัวเลขคน message ไปหาคุณไม่ได้แล้ว เพราะว่าตัวเลขมันจะไม่ขึ้น พอตัวเลขมันไม่ขึ้นคุณนึกว่ามันไม่ได้ผล แต่ถ้าคุณเป็นคนฉลาดคุณก็จะรู้ว่า มันไม่ขึ้นเลยมันไม่ควรเป็นไปได้หรอก มันควรจะต้องขึ้นบ้างเพราะยอดคุณปกติ 7 หลักอยู่แล้ว แสดงว่ามันมียอดอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าไม่ใส่ลิงค์ลงไปก็ไม่เห็นผลแล้ว

ถ้าคุณ set campaign objectives ผิด การวัดผลก็จะเพี้ยน

ถ้าคุณ set campaign structure ผิดหลัก การวัดผลก็จะเพี้ยนอีก

ถ้าคุณมีความเข้าใจเรื่องกลุ่มเป้าหมายถูกต้องแต่การเซ็ตค่าคุณผิด คุณก็จะวัดผลได้เพี้ยนอีก

จะเห็นว่ามันมีเรื่องจุกจิกเยอะมาก แต่อย่างไรก็ตามเรื่องเหล่านั้นผมแนะนำว่าให้คุณไปดู คลิป 11 แก่นกระพี้เพิ่มยอดขายด้วย Facebook ผมคิดว่าผมพูดหัวข้อไว้เกือบครบทุกอันแล้ว ผมคิดว่าครบแล้ว แต่ Facebook มันไม่นิ่ง และมันมีอะไรเปลี่ยนแปลงตลอด ผมก็พูดเผื่อไว้นะครับ ดังนั้น ก็ไปลองดูและไปศึกษาทำความเข้าใจในแต่ละเรื่อง งงตรงไหนแชทถามใน Line@ มาได้ ถามใน inbox มาได้ ผู้ช่วยผมเดี๋ยวเขารวบรวมคำถามแล้วผมจะเอามาคอยตอบให้

ทีนี้มาดูเรื่องการวัดผลกัน คือต้องเข้าใจอย่างนี้ก่อนว่านักการตลาดไทยมีความเข้าใจผิด ๆ อยู่เยอะมาก  เรื่องหนึ่งก็คือจะมีลัทธิ Like แล้วก็ลัทธิ Engagement ลัทธิ Like กับ Engagement คืออะไร ผมตั้งชื่อของผมเองนะ ก็คือคนที่ศรัทธา ศรัทธาโดยที่ไม่รู้ว่าที่มาที่ไปมันคืออะไร ผมถึงใช้คำว่าลัทธิ คือให้ความสำคัญกับ Like กับ Engagement โดยที่ไม่เข้าใจว่ามันสำคัญจริงหรือเปล่า แล้วก็ไม่แน่ใจด้วย แต่ก็เชื่อ ๆ ไปเหมือนเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรสักอย่าง อันนั้นก็คือลัทธิใช่ไหม ผมบอกคุณได้อย่างหนึ่งสั้น ๆ ว่า คนกด Like กับคน Engage ไม่ได้เท่ากับยอดขายในทุกกรณี

บางครั้ง Engagement ดี ยอดขายอาจจะไม่ดี

บางครั้ง Engagement ไม่ดียอดขายอาจจะดีก็ได้

คือ ผมไม่ได้บอกว่า Engagement ดี ยอดขายจะไม่ดีแน่ ๆ คือมันอาจจะสลับกันได้ คือมันไม่ได้ขึ้นตรงต่อกัน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าคุณลองนึกถึง
ผู้หญิงสักคนหนึ่งที่เป็นแฟนของเศรษฐีพันล้าน อายุประมาณ 35 เริ่มจะมีลูกแล้ว และก็เริ่มอายุเยอะแล้ว คุณลองนึกดูว่าถ้าเขาอยากจะหา ที่ทำศัลยกรรมฉีดโบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ คุณลองนึกดูว่าเขาจะอยากแชร์คอนเทนท์ใน Facebook เกี่ยวกับศัลยกรรมไหมครับ แชร์เลยว่าเดี๋ยวฉันจะไปทำ คือบางทีคนที่มีรายได้สูงมาก ๆ เขาอาจจะต้องการความเป็นส่วนตัวก็ได้ เชื่อไหมผมเคยไปคุยกับเจ้าของคลินิกเจ้าหนึ่ง คือเขาเป็นกลุ่ม high-end มาก เขาต้องถึงกับเลือกทำเล ไปอยู่หลัง ๆ ห้างหลบมุม แล้วก็ไปอยู่ใกล้ ๆ ลิฟท์ตัวพิเศษ มีลิฟท์สำหรับคนรวยมาก ๆ โดยเฉพาะ แล้วพวกนี้เขาจะมาวันธรรมดา เพราะว่าคนจะไม่พลุกพล่าน
แล้วก็แอบมาคลุมผ้ามาแล้วก็ไป แล้วการที่จะให้เขาไป ถ่ายรูปเซลฟี่รับโปรโมชั่นอะไรแบบนี้ คุณลืมไปได้เลย ดังนั้น คุณต้องเข้าใจลูกค้าของคุณอย่างลึกซึ้ง ว่าพฤติกรรมเขาเป็นอย่างไรกันแน่ ผมยกอีกตัวอย่างหนึ่ง

สมมติคุณขายยาปลูกผม คนกลุ่มหนึ่งที่จะใช้ก็คือคนหัวล้านใช่ไหม ส่วนใหญ่คนจะนึกถึงแต่ผู้ชาย แต่ความเป็นจริงแล้วผู้หญิงก็ใช้นะ คุณลองนึกดูว่าเป็นผู้ชายหัวล้าน แล้วอยู่ ๆ คุณทำคอนเทนท์เกี่ยวกับวิธีแก้เรื่องหัวล้าน คุณคิดว่าเขาจะแชร์ไปที่หน้าวอลล์ตัวเองไหม เขาจะกดไลค์ กดแชร์ ไปที่หน้าวอลล์ตัวเองไหม ถ้าเขาทำอย่างนั้นเขาก็อับอายสิ คุณนึกออกใช่ไหม ดังนั้น เขาก็ไม่อยาก Engage

ทีนี้ทั้งหมดทั้งมวล ผมย้ำอีกที ผมไม่ได้บอกว่าการ Engage เป็นเรื่องไม่ดีแต่การ Engage ไม่เท่ากับยอดขาย ทีนี้คำถามคือ แปลว่าการวัดผลคุณดู Like กับ Engage ผมบอกเลยนะ เชื่อไม่ได้เชื่อไม่ได้สุด ๆ เป็นตัวที่สับขาหลอกที่สุดแล้ว ทำให้คนตัดสินใจเพิ่มงบผิดกลุ่ม กันมานักต่อนักแล้ว สูญเงินกันเป็นล้าน ๆ
ผมใช้คำนี้จริง ๆ นะ นอกจากค่าเสียโอกาสที่ควรจะได้ยอดเยอะกว่านี้ เขารู้สึกว่ามันเปลืองมากเลยที่ผ่านไป แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าถ้าเขาไม่ได้เปลืองขนาดนั้นเขาก็อาจจะไม่ได้อยากมาเรียนวันนี้ก็ได้มันเป็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นมาแล้วก็ช่างมันเถอะ

ก็มาเริ่มใหม่ให้มันดี ๆ มันไม่มีอะไร perfect ทุกอย่างอยู่แล้ว เราก็ปรับให้มันดีขึ้นเรื่อย ๆ เรื่องวัดผลถ้าคุณอยากจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี คุณก็ต้องเข้าใจก่อนว่า
คุณอย่าดู like กับ engagement ให้คุณดูตัวเลขเหล่านี้ คือ คุณคิดก่อนว่า ถ้าคนอยากจะซื้อจริง ๆ เขาทำอะไรบ้าง

“ผมบอกคุณสั้น ๆ เลยนะครับ”

1. เขาจะ message ไปคุยกับคุณเลย

2. เขาจะแอด Line@ ไปคุยกับคุณเลย

มีไหมครับแบบเราอยากได้ของมาก ๆ สมมติเราจะจองห้องพักที่ญี่ปุ่น เราจะจองโรงแรมเรียวกังสักที่หนึ่ง มีไหมครับเราเข้าไปในแฟนเพจ แล้วก็ไปพิมพ์ในคอมเม้นท์ว่าอยากจะจอง ไปกดคอมเม้นท์หรือแชร์มาหน้าวอลล์ตัวเองว่า “อยากจองจังเลย” ผมว่าอาจจะมีนะแต่คงเป็นคนแปลกมาก คือถ้าเกิดว่าเราอยากจองเรียวกัง อันนั้นแล้ว คือเราก็จะได้ไปทำอย่างอื่นถูกไหม เรามีแนวโน้มที่จะ inbox ไปเลย เรามีแนวโน้มที่จะแอด Line@ ไปเลยถูกไหมครับ

ดังนั้น สถิติตัวที่คุณต้องดู คือคน inbox กับแอด Line@ ต่างหาก สองตัวนี้คือตัวคลาสสิค แล้วถ้าคุณมีเว็บไซต์และคุณวัดผลลัพธ์ คือหมายถึงว่าพฤติกรรมของลูกค้าคุณมาเกิดผลลัพธ์บนเว็บไซต์ได้ ผมก็แนะนำให้คุณ track conversion ให้ดูเรื่อง outbound unique link clicks คือการแอด Line@ ไปดูคลิปอีกตัวหนึ่งของผมได้ ย้ำอีกทีนะ outbound unique link clicks คือการแอด Line@ เพราะว่ามันคือคลิกออกแล้วนับเป็นคน new message กับ messaging replies อันนี้คือสำหรับ inbox แล้วก็ conversion อันนี้ก็คือสำหรับการ track ด้วยตัวเอง ดังนั้นคุณต้องไปเรียนรู้เรื่อง การ Tracking Pixel conversion ซึ่งลองกดดูในคลิปใน Youtube ของผมก็มี ลองแวะไปดูกันได้ อันนี้คือเรื่องของการวัดผลแบบเบื้องต้น

คุณสังเกตไหมว่า ผมไม่ได้พูดหลายตัวมากเลย อย่างเช่น

Frequency ความถี่

Cost per click

Relevant score

ทำไมไม่พูด เพราะผมบอกได้เลยว่าพวกนี้ ถ้าเราไม่รู้ตัวก่อนหน้านี้ที่ผมพูด ถ้าเราไม่รู้ผลลัพธ์ก่อน เรามีแนวโน้ม จะตั้งสมมติฐานอะไรขึ้นมาก็ไม่รู้ แล้วก็แปลความหมายของตัวเลขนั้นผิด ๆ ผมยกตัวอย่างนะ สมมติผมถามคุณว่า

“คุณครับสมมติตอนนี้ผมได้ยอดขาย 1 ล้านบาทต่อเดือน ลงงบ 1 แสนบาทต่อเดือน ลง 1 แสนได้ 1 ล้านนะครับ”

ผมถามคุณว่า ตอนนี้ Frequency ของผม อยู่ที่สองครั้งนะ คำถามคือ ถ้าผมอยากได้ยอดเพิ่ม การที่ผมทำ frequency จาก 2 เป็น 2.5 ยอดผมจะเพิ่มขึ้นไหม เพิ่มหรือไม่เพิ่ม บอกได้เลยว่ามันไม่แน่หรอก การที่คนเห็นซ้ำเยอะขึ้นมันอาจจะทำให้คุณขายดีขึ้นก็ได้ถูกไหม การที่คนเห็นซ้ำน้อยลง แล้วมันไปให้คนใหม่ ๆ เห็นแทนมันอาจจะทำให้คุณขายดีขึ้นก็ได้ มันไม่แน่หรอก ดังนั้น ถ้าคุณไปดูก่อน คุณมีแนวโน้มจะตีความไปทางไหนอะไรก็ไม่รู้ ความน่าจะเป็นมันเกิดขึ้นได้เยอะมาก แต่ถ้าคุณดูซะแล้วว่า ก็นี่ไง คนคุย message กับเราทักมามันได้ราคาเท่านี้ มันได้จำนวนเท่านี้ด้วยเงินเท่านี้ ก็นี่ไงมันได้มาแล้วไง อันนี้คือดีไง ad set นี้ ที่ได้ราคาเท่านี้ สถิติอย่างนี้คือดี แล้วคุณค่อยไปดูว่า ตัวเลขอื่น ๆ มันเป็นอย่างไร เช่น นี่มัน Frequency 10 เลยนะ Frequency 10 แต่ยอดขายดีได้หรอ คุณจะได้ learning ใหม่ที่ถูกต้อง แต่อยู่ ๆ มันโผล่มา Frequency 10 ถ้าคุณไม่ได้เห็นผลลัพธ์ก่อนนะ คุณจะแบบ ถี่ไปรึเปล่า ซ้ำบ่อยไปหรือเปล่าผมจงใจใช้คำพวกนี้เลย เพราะว่าผมเชื่อว่าคนยอด 7 หลัก คุณรู้จักศัพท์พวกนี้อยู่แล้ว อันนี้ก็คือคำแนะนำที่ 4 นะครับ “การวัดผล”

ข้อที่ 5 คุณควรจะเรียนรู้และหัดบริหารงบโฆษณาออนไลน์ (Budget management)

ซึ่งการที่คุณจะทำคำแนะนำข้อที่ 5 นี้ได้ ผมเชื่อว่าจริง ๆ หลายคนพยายามที่จะทำให้เงินลงทุนของตัวเองกับงบโฆษณา คุ้มค่ามากขึ้นเรื่อย ๆ อยู่แล้ว คุณพยายามจะเรียนรู้วิธีต่าง ๆ ในการทำให้มันดีขึ้นอยู่แล้ว แต่ผมกำลังพูดถึงการจัดสรรค์งบประมาณ ไปยังหนึ่ง platform ต่าง ๆ

Google เราควรจะใช้มากน้อยแค่ไหนกี่เปอร์เซ็นต์

Youtube เราควรจะใช้กี่เปอร์เซ็นต์

GDN เราควรจะใช้กี่เปอร์เซ็นต์

Facebook เราควรจะใช้กี่เปอร์เซ็นต์

อันนี้คือการกระจายไปตาม platform ต่าง ๆ ถูกไหม และเราควรจะรู้อีกอย่างหนึ่งว่า ในแต่ละ platform เราควรจะใช้กับเครื่องมือตัวไหนกี่เปอร์เซ็นต์ ควรจะใช้กับแคมเปญไหนกี่เปอร์เซ็นต์และอีกแกนหนึ่งก็คือ Product sku ของเรา สินค้าเรามีกี่ประเภท หรือว่าของเรามีกี่ธุรกิจ เราควรจะใช้กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามแกนนี้คือ Platform / Targeting / Product sku ของคุณ

เราควรจะบริหารจัดการและเราควรจะทำความเข้าใจว่า เราควรจะใส่เงินตรงไหนมากน้อยกว่ากัน อย่างเรื่อง Targeting ผมเสริมอีกนิดหนึ่ง Platform / Targeting แล้วก็เรื่องสินค้าของคุณ Targeting จริง ๆ ยังหมายถึงต่างประเทศด้วย ถ้าเกิดว่าคุณอยากจะเจาะตลาดเพื่อนบ้านบ้าง เจาะตลาดส่งออกบ้าง มันหมายถึงอย่างนั้นด้วย คุณอยากจะแยกตลาดขายส่งกับขายปลีก คุณอยากจะเน้นตลาด B2C หรือว่าตลาด B2B แยกกันกี่เปอร์เซ็นต์ คุณก็ต้องจัดสรรค์พวกนี้ซึ่งผมเชื่อว่าถ้าคุณงบ 7 หลัก ผมมั่นใจว่าคุณคงจะคิดอะไรเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว

แต่ทีนี้ผมอยากจะย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า คุณจะบริหารงบโฆษณาได้ คุณต้องทำข้อ 2,3,4 ที่ผมพูดมาก่อนหน้านี้ ให้สมบูรณ์และให้ดีซะก่อน ยิ่งคุณทำข้อ 2,3,4 ได้ดีขึ้นเท่าไหร่ ข้อ 5 คุณก็จะทำได้ตามนั้นเองล่ะ อย่างเช่น

คุณต้องทำเรื่อง Segment ก่อน แล้วคุณก็ต้องทำคอนเทนท์ ให้แมทช์กับ Segment นั้นก่อน เสร็จแล้วคุณก็ต้องอ่านผล อ่านตัวเลขอย่างเข้าใจมาก ๆ ก่อน พอคุณทำทุกอย่างสมบูรณ์แล้ว คุณก็จะรู้เองว่า ก็นี่ไงเห็นอยู่แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายนี้ ใส่เงินไปเท่าไหร่มันก็ไม่ทำยอดขายกลับมาให้เรา แต่อีกกลุ่มเป้าหมายหนึ่ง
เราใส่เงินไปแค่ครึ่งเดียวของก่อนหน้านี้ แต่ทำไมอันนี้ทำยอดขายเยอะเหลือเกิน ทำให้ลูกค้าเข้ามาเยอะเหลือเกิน ดังนั้น คุณควรจะวัดต้นทุนต่อผลลัพธ์ของแต่ละช่องทางว่าเป็นเท่าไหร่ ๆ แล้วคุณก็เปรียบเทียบกัน อันนี้ก็เป็นตัวเลขคร่าว ๆ ที่คุณจะตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้น ว่าคุณควรจะจัดสรรค์งบประมาณอย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกอย่างมันมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราต้องทำความเข้าใจเสมอ ผมยกตัวอย่างเช่น

สมมติว่าคุณเห็นเลยว่า โฆษณาบน Google search กับ Facebook ราคาต่อผลลัพธ์มันเท่ากันเลย คือ cost per lead มันเท่ากัน เอาง่าย ๆ ว่าคนแอด Line@ มา ด้วยต้นทุนโฆษณาเท่ากัน สมมติว่า 100 บาท 200 บาท สมมติว่ามันเท่ากันเลยนะ แต่คุณเชื่อไหมว่าในความเป็นจริงแล้ว มันจะมีบางอย่างไม่เหมือนกันอย่างเช่น คนที่มาจาก Google 10 คน กับคนที่มาจาก Facebook 10 คน เมื่อมาคุยไลน์กันแล้วทั้งคู่ เราอาจจะปิดได้ไม่เท่ากันนะ เพราะด้วยหนึ่ง ความตั้งใจของเขาอาจจะมาไม่เท่ากัน

ตัว Google โดยจากประสบการณ์ผม มักจะดีกว่า Conversion rate มักจะดีกว่าเพราะคน search มา เขามีความเร่งด่วนมีความต้องการแล้วทักมา Facebook จะเป็นอารมณ์แบบ มามุง ๆ ด้วยส่วนหนึ่งมาชะเง้อดูด้วยอะไรแบบนี้ ถึงแม้จะเป็นการแอด Line@ จากประสบการณ์ของผม การที่เขาถามมาใน Line@ Conversion rate ของการแอดเข้ามาแล้วนำไปสู่การปิดการขายได้ คือ sale converse ได้ มันก็อาจจะไม่เท่ากัน มันจะมีรายละเอียด detail อะไรพวกนั้น ซึ่งถ้าคุณตั้งใจวัดจริง ๆ มันก็ทำได้

แต่ว่าเบื้องต้นผมอยากให้คุณ ลองบริหารจาก lead ดูก่อนก็ได้ แล้วคุณจะเห็นตัวเลข ยอดขายมันเปลี่ยนไป ตามการจัดสรรค์งบประมาณของคุณ ที่มัน make sense คือ คุณเอาเงินไปใส่ถูกที่ ยอดขายมันก็ควรจะเยอะขึ้น และคุณก็ดูตัวเลขแล้วมันเยอะขึ้นจริง คือ lead คนติดต่อมาเยอะขึ้นจริง หลังจากคุณย้ายงบไปอีกที่หนึ่งแล้ว และสุดท้ายคุณมาดูยอดขายรวม ของคุณว่ามันดีขึ้นจริงไหมในเดือนนั้น ซึ่งผมบอกได้เลยว่าจากประสบการณ์ของผมมันมักจะดีขึ้นเกือบทุกเคสตัวเลขมันจะบ่งบอกทุกอย่าง ถ้าคุณทำความเข้าใจเป็นสเต็ป ๆ และจิ๊กซอว์คุณครบ ที่พูดมาทั้งหมดก็คือ “5 คำแนะนำสำหรับคนที่ยอดขายเกิน 7 หลักต่อเดือน”

แต่ผมจะย้ำให้คุณฟังอีกทีว่า ไม่ว่าผมจะพูดหนึ่งชั่วโมง ห้าชั่วโมง พูดหนึ่งวันสามวัน หรือสิบวัน ผมบอกคุณได้เลยว่าเรื่องที่มันควรจะต้องรู้ มันไม่จบไม่สิ้นหรอก มันก็จะแบบมีต่อไปเรื่อย ๆ  แต่อย่างน้อยเรื่องที่มันสำคัญที่สุด ที่มันเป็นแก่น คุณควรจะเข้าใจ และคุณควรจะเก็บจิ๊กซอว์ที่สำคัญให้ได้ให้หมด แล้วเรื่องที่เหลือต่อจากนั้น มันเป็นเรื่องที่คุณสามารถ เอาความรู้ที่คุณมีจากศาสตร์อื่น ๆ จากประสบการณ์ส่วนตัวของคุณ จากความคิดเห็นของทีมงานของคุณมาผสมปนเปกันเป็นไอเดียใหม่ ไปสู่แนวทางใหม่ ๆ ได้

สำหรับคลิปนี้นะครับก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ยอดขายดีอยู่แล้ว ผมก็หวังว่า 5 คำแนะนำนี้คุณจะได้ลองไปปรับใช้ ถ้ามีข้อสงสัยตรงไหน อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอะไรกันตรงไหนก็คอมเมนท์กันมาใต้คลิปนี้ได้เลยนะครับ แล้วก็ช่วยกดไลค์ กดแชร์ กดคอมเมนท์ กดติดตามแฟนเพจและ Youtube และแอด Line@ ของผมด้วยนะครับ

สวัสดีครับ ^^