Facebook Algorithm มีเงื่อนไขในการเลือกกลุ่มเป้าหมายอย่างไรให้เรา?

ผมเชื่อว่าหลายท่านนะครับคงเคยสงสัยว่า Facebook (Facebook Algorithm)โฆษณา ที่เรายิงโฆษณาลงไปและเราได้มีการเลือกเงื่อนไขของการเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Facebook Targeting) ยกตัวอย่างเช่น อายุ (Age) เพศ (Gender) การศึกษา (Education) ตำแหน่งงาน (Job title) และที่สำคัญที่สุด คือ ความสนใจ (Interest)

หลายท่านสงสัยว่าเวลาเราเลือกความสนใจหรือว่า Interest ในการตั้งค่าโฆษณาใน Facebook แล้ว Facebook มีวิธีการจับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในเรื่องนั้นให้ตรงกับที่เราเลือกได้อย่างไร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Facebook มี Algorithm ในการเลือกกลุ่มเป้าหมายอย่างไรให้เรา อธิบายในรูปของ “กฎแรงดึงดูด”

http://www.pakorn.in.th/facebook-advertising/%e0%b8%a2%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%86%e0%b8%a9%e0%b8%93%e0%b8%b2-facebook-%e0%b9%83%e0%b8%99-%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%96%e0%b8%b7%e0%b8%ad/

ผมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้ยิน เรื่องกฎแรงดึงดูดมาบ้างหรือว่าถ้าท่านไม่เคยได้ยินนะครับ ลองฟังในคลิปนี้ดู

ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าตัวผมเองเป็นคนที่ใช้คำว่าเกลียดเรื่องงมงายเลยนะ การดูดวง เรื่องโชคชะตา เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องวิญญาณผีนะครับ ผมไม่เชื่อแล้วผมก็ anti มาก แต่ผมเชื่อในเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องสถิติ ตัวเลข ความจริง เรื่องสัจธรรม จิตวิทยา เรื่องพระพุทธศาสนาที่เป็นเรื่องของแก่น เชื่อในเรื่องเหล่านั้นนะครับ แต่ผมไม่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เรื่องงมงาย

อย่างไรก็ตาม เมื่อผมได้ศึกษา “กฎแรงดึงดูด” จากเมื่อสักเป็นสิบปีได้แล้วจากหนังสือเล่มหนึ่ง ผมอ่านหนังสือเล่มนั้นแล้วผมรู้สึกว่า กฎแรงดึงดูดเป็นกฎที่มหัศจรรย์มากเลยนะเพราะว่าผมลองดูกับตัวนะครับ อย่างเช่นระหว่างที่ผมอ่านหนังสืออยู่กำลังนั่งรถกลับบ้าน แต่ว่าผมลองนึกถึงเพื่อนตอนสมัยประถมคนหนึ่งแบบเด็ก ๆ มากเลย ผมลองนึกถึงเขาดูนะครับในหนังสือเขาบอกว่าต่อให้คุณเชื่อว่า คุณจะเห็นขนนกอยู่อันหนึ่งนะ ซึ่งมันยากที่อยู่ ๆ เราจะมาเห็นขนนกถ้าเราเชื่อว่าเราจะเห็นขนนก เราเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจอีกสักพักหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว เราจะเจอขนนกอันนั้น ก็เลยลองดูเลย เราลองนึกถึงเพื่อนประถมแบบตั้งใจนึกเลยนะ เชื่อมากว่าจะเจอไม่รู้อะไรทำให้เชื่อ ผมกลับมาถึงบ้านผมก็เจอ Facebook group อันหนึ่งอยู่ ๆ ก็โผล่ขึ้นมานะครับ เป็น Facebook ของโรงเรียนประถมรวมรุ่นผมลองกดเข้าไปดู แล้วผมก็เจอเพื่อนคนนั้นโพสต์สเตตัสอยู่ อันนี้ก็ขนลุกเหมือนกันนะ

แล้วผมก็ลองเท้าความดูถึงในอดีตที่ผ่านมาว่ามันเป็นอย่างนั้นไหม ผมก็พบว่า เรื่อง “กฎแรงดึงดูด” จริง ๆ แล้ว มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ นะสำหรับตัวผม ซึ่งจริง ๆ แล้วผมเคยคุยเรื่องนี้กับคนที่อยู่ในวงการวิทยาศาสตร์ เขาก็บอกว่าจริง ๆ มันมีหลักทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายได้ มันเป็นเรื่องของการทำงานของสมอง

ก็คือสมองคนเรามันจะฉายไฟฉายไปหาเรื่องที่เราสนใจ ใช่ไหมครับ อย่างเช่นสมมติก่อนหน้านี้ สมัยที่เรายังไม่ร่ำรวยอะไร เราไม่เคยนึกจะซื้อรถเบนซ์ เราก็จะมองข้ามรถเบนซ์ไป รถเบนซ์จะไม่ค่อยผ่านมาในสายตาเรา ทั้ง ๆ ที่มันผ่านวิ่งอยู่ในถนนนะ แต่เมื่อวันหนึ่งที่เราเกิดสนใจอยากจะซื้อรถเบนซ์ขึ้นมา เราเริ่มสังเกตเราเริ่มให้ความสำคัญสมองเราฉายไฟฉายไปที่รถเบนซ์ทีนี้เมื่อเราวิ่งไปตามถนนรถเบนซ์ผ่านมาเราก็จะมอง เราเห็นใน Facebook รถเบนซ์ขึ้นมาใน feed เราก็จะมองทีนี้มันก็เลยเกิดสภาวะ “แรงดึงดูด” ก็คือสมองเราฉายไปเรื่องนั้นมันก็มีของมันอยู่แล้วล่ะ แต่เราไปให้ความสำคัญกับมันเราก็เลยมุ่งเข้าไปสู่สิ่งนั้นง่ายขึ้น

ทีนี้ในทางตรงกันข้ามสมมติเราเกลียดอะไรและเราก็ไป interact กับสิ่งนั้นหรือว่าพยายามจะต่อต้านสิ่งนั้น อันนั้นคือเราส่งความคิดไปดึงดูดสิ่งนั้นที่เราไม่ชอบเหมือนกันอันนี้คือคำอธิบายของ “กฎแรงดึงดูด” ยกตัวอย่าง เช่น ผมเป็นคนที่เกลียดแมลงสาบมาก ยิ่งเกลียดจะยิ่งเจอ คำนี้ทุกคนเคยได้ยินใช่ไหมครับ พอเราเกลียดแมลงสาบ ไฟฉายของสมองก็จะส่องไปที่แมลงสาบเวลาเข้าไปในบ้านที่ดูสกปรก สายตาเราจะกวาดมองหาแมลงสาบอยู่ตลอดเวลาจะเจอมันไหมอย่าเจอนะ อย่านะแล้วมันก็จะเจอพอเจอปุ๊บ เราก็ผลักมันอีกว่าอย่ามายุ่งกับเรานะ มันก็จะบินชาร์จใส่เราอีกต่างหาก อันนี้เป็นหลักการของ “กฎแรงดึงดูด”

เขาก็เลยบอกว่า อย่าพยายามต่อต้านสิ่งใด แต่ให้คิดถึงสิ่งนั้น เช่นสมมติเรามีลูก เขาชอบวิ่งเล่นเร็ว ๆ ใช่ไหมครับ เราบอกลูกว่าอย่าวิ่ง เด็กจะต่อต้านคำว่าอย่าแต่จะได้ยินคำว่าวิ่ง เขาจะดึงดูดหาคำว่าวิ่ง แล้วเขาก็จะยิ่งวิ่งใหญ่เลย ยิ่งดื้อ แต่ถ้าเราอยากให้เขาทำตรงกันข้ามกับอย่าวิ่งให้เราใช้คำตรงกันข้ามนะครับ ก็คือเดินช้า ๆ จงเดินช้า ๆ อันนี้เขาเรียกว่า positive approach และ negative approach ก็คือ อย่านู่น อย่านี่ อย่านั่น positive approach ก็คือ จงทำอย่างนู้น จงทำอย่างนั้น ทำอย่างนั้นสิ ทำอย่างนู้นสิ อันนี้คือเรื่อง “กฎแรงดึงดูด”

ทีนี้ถามว่าอธิบายมาซะยืดยาว มันเกี่ยวกับ Facebook Algorithm อย่างไร?

จากที่ผมวิเคราะห์แล้วหลายคนอาจจะเคยคิดว่า Facebook ที่จับกลุ่มเป้าหมายมันจับจากการเซ็ตโปรไฟล์อย่างเดียวหรือเปล่า ก็ต้องบอกได้เลยว่าเรื่องนั้นเป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ที่ Facebook ทำ แต่มากกว่านั้นก็คือ

สมมติว่าวันนี้เนี่ยเราลืมตาตื่นขึ้นมาบนโลกนี้และเราก็เข้าสู่ Facebook เป็นครั้งแรก มี feed ขึ้นมา

feed ที่หนึ่งเป็นเรื่องการเมือง

feed ที่สองเป็นเรื่องละครดาราตีกัน

feed ที่สามเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์

feed ที่สี่เป็นเรื่องธุรกิจ

feed ที่ห้าเป็นเรื่องการเงิน

feed ที่หกเป็นเรื่องเศรษฐกิจ

คำถามก็คือเราจะ interect กับอะไร หรือว่าเราจะ engagement กับอะไร มีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ไหน?

ถ้าเราบอกว่าเราชอบเรื่องดาราทะเลาะกัน ดาราตีกันเลิกกัน เราก็ไปกดไลค์ใช่ไหมครับ พอเรากดไลค์ Facebook จะรู้แล้วว่า อ๋อคุณชอบเรื่องเหล่านี้ ดังนั้น เดี๋ยวจะเอา feed เรื่องเหล่านี้มาให้คุณเห็นบ่อยขึ้น ๆ แล้วมันก็จะเริ่มเอา feed ที่เกี่ยวกับการตลาด การเงิน เศรษฐกิจ เรื่องที่มีสาระต่าง ๆ ออกไปจากชีวิตเรานะครับ เพราะคุณไม่ได้สนใจเรื่องนั้นนี่

แต่คุณสนใจเรื่องดาราตีกันอ่ะ เอาไปอีก feed หนึ่งขึ้นมา การเมืองสู้กันสู้รบกัน หรือว่าข่าวอะไรก็ไม่รู้หวยอะไรก็ไม่รู้ เราก็ไปมี engagement มันก็จะยิ่งเอาข่าวเรื่องเหล่านั้น มาหาเรามากขึ้นอันนี้ก็คืออย่างหนึ่งของกฎแรงดึงดูด

ทีนี้ในทางตรงกันข้ามสมมติเราเกลียดสิ่งนั้นเราไม่ชอบเรื่องดารา เราไม่ชอบเรื่องการเมืองอะไรอย่างนี้ แทนที่เราจะอยู่เฉย ๆ เราไปคอมเมนท์ด่าแชร์มาที่ wall แล้วก็ด่าด้วย Facebook ก็จะยิ่งมองเราหนักเลยว่า โอ้โห ! ชอบขนาดหนักเลยนะนั่น ถึงขั้นมีการคอมเมนท์ มีการแชร์ ดังนั้น Facebook บอกว่าได้เลย จัดให้!

เอา feed เรื่องที่เราไม่ชอบเอาไปเพิ่มอีกก็จะทำให้เราดึงดูดเรื่องที่เราไม่ชอบเข้ามาหาเรา มากขึ้น ๆ ดังนั้น

ถามว่าเราควรจะทำอย่างไร? อันนี้ก็แล้วแต่คนนะในความเห็นของผม ผมทำเรื่องการตลาดออนไลน์ ผมสนใจเรื่องธุรกิจสนใจเรื่องการพัฒนาตนเอง ผมสนใจเรื่องการบริหารงาน สนใจเรื่องตลก สนใจเรื่องเพลง ดนตรีบ้าง เรื่องกีฬาบ้าง ดังนั้น ผมก็จะเลือก Engage กับสิ่งที่ผมชอบอะไรที่ผมไม่ชอบ ผมจะกด hide ไปเลยกดซ่อนไปเลย

อย่างเช่นผมชอบเรื่องการตลาด ผมก็จะยิ่งเห็นโฆษณาที่เกี่ยวกับการตลาดที่เกี่ยวกับเครื่องไม้เครื่องมือการตลาดจากต่างประเทศที่เป็นเรื่องออนไลน์เนี่ยครับเข้ามาใน feed แล้วบางอันผมชอบมาก ผมก็จะกด follow กดไลค์ผมกดคอมเมนท์แชร์มาที่หน้าแฟนเพจแท็กเพื่อนอีกต่างหาก

ทีนี้เราลองนึกถึงสภาพของโลกความเป็นจริง

สมมติว่า อันนี้จาก virtual world มา reality world แล้วนะครับ จากโลกสมมติ มาโลกจริง

สมมติว่าผมชอบเรื่องการตลาดชอบเรื่องธุรกิจผมเริ่มแชร์เรื่องเหล่านั้นลงใน Facebook จากเดิม ผมอาจจะเป็นคนที่ไม่มีคนรู้จักเลยหรือว่าเพื่อนก็ไม่รู้เลยว่า ผมชอบเรื่องอะไร ทีนี้ผมก็แชร์เรื่องธุรกิจเรื่องการตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงก็คือจะมีเพื่อนที่ชอบเรื่องนี้เหมือนกันหรือว่าเพื่อนของเพื่อน ที่ชอบเรื่องนี้เหมือนกัน เขาจะแนะนำจะมาคุยเรื่องนั้นกับผมหรือไม่ก็ถ้าเขามองว่าผมเป็นคนเชี่ยวชาญ เขาจะบอกให้คนมาปรึกษาผม ในเรื่องนี้แล้วผมก็จะเริ่ม connect กับคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ในโลกแห่งความเป็นจริง

หรืออย่างสมมติผมต่อต้านสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์แล้วผมเคยเห็นท่านหนึ่งนะครับ เอ่ยชื่อก็คือ พี่หนุ่ย พงศ์สุข ชอบโพสต์เรื่อง ต่อต้านสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เหมือนกัน เขาก็โพสต์มาในเรื่องนี้นะครับ ผมก็ไป interect คนประเภทเดียวกัน มีอุดมการณ์มีนิสัยมีความเชื่อเหมือนกันก็จึงดึงดูดมาเรื่องเดียวกันแต่ว่าสิ่งที่ต้องระวัง สมมติเราไม่ชอบเรื่องดาราแต่เราดันไปแชร์แล้วเราก็ด่านะ เชื่อไหมครับสมมติว่าเวลาเราไปเลี้ยงรุ่น ถ้าเราไปทำบ่อย ๆ นะครับ เจอกับเพื่อน เพื่อนจะมาคุยกับเรา เรื่องนี้ว่าเอ็งไม่ชอบเรื่องนั้นหรอ แล้วก็จะกลายเป็นวงสนทนาในเรื่องนั้น แล้วก็จะทำเราไปสู่ที่สมองเราฉายไปในเรื่องนั้นแล้วเราก็จะฝังตัวอยู่กับเรื่องนั้นจนได้ จนสุดท้ายเราก็คุ้นเคยกับสภาวะแวดล้อมนั้น แล้วเราก็กลายเป็นสิ่งนั้น

ดังนั้น คำแนะนำของผมก็คือตาม “กฎแรงดึงดูด” เลยครับ ถ้าคุณอยากได้อะไรใน Facebook คุณอยาก interect กับอะไรใน Facebook คุณอยากดึงดูด คนรอบข้างแบบไหนเข้ามา คุณอยากดึงดูดคอนเทนท์สาระ (Value Content) เพจแบบไหนเข้ามา คุณก็ไป interect กับเพจแบบนั้น

http://www.pakorn.in.th/content-marketing/%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87-brand-awareness/

เพจที่คุณไม่ชอบ ไม่สนใจและไม่อยากแสดงความเห็น คุณก็ซ่อนมันซะยกเว้นแต่ว่าคุณอยากไปร่วมต่อสู้ อันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับ แต่สมมติคุณอยากจะละจากมัน คุณก็ซ่อนมันซะปล่อยมันไปซะ คือแม้กระทั่งเราไม่ได้ interect ไม่ได้ engage เราไปหยุดดู 2-3 วิ.

Facebook ก็จับเหมือนกันว่าเราสนใจบางท่านไปหยุดดูแอบไปส่อง ชอบไปส่งโปรไฟล์เพื่อน ถามว่าเขาไป interect ไหม ไม่ได้ engage ไหม ไม่ได้ engage แต่ทำไมเห็น feed ของเพื่อนเยอะขึ้นเพราะว่าก็แอบไปส่องไง Facebook ก็จับแล้วว่าคุณสนใจนะครับ ส่องในระยะเวลาที่มากพอ ดังนั้น เราโกหก Facebook ไม่ได้ และเราก็โกหกจิตใจตัวเองไม่ได้ โกหกกฎธรรมชาติ โกหกการทำงานของสมองไม่ได้

สิ่งที่เราต้องทำก็คือเราต้องหาสิ่งดี ๆ ถ้าเราอยากจะดี ๆ นะครับ จริง ๆ นิยามคำว่าดี ไม่ดีก็พูดยากนะ แต่ว่าถ้าเราสนใจในเรื่องไหน เราก็สร้างสภาวะแวดล้อมอันนั้นให้เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว ทั้ง vitual word และ reality world ปิดท้ายคลิปกันด้วย “กฎแรงดึงดูด” นะครับ

ถ้าคุณสนใจเรื่องการตลาดออนไลน์ สนใจเรื่องการทำการตลาดด้วย Google และ Facebook ผมก็แนะนำ

ตามกฎของแรงดึงดูดว่าให้คุณกดไลค์ กดคอมเมนท์ กดแชร์ วีดีโอตัวนี้ และกด subscribe กด follow แฟนเพจ หรือว่า Youtube ของผมนะครับ เพราะว่า

คุณก็จะดึงดูดคอนเทนท์ของผมเข้าไปหาคุณบ่อยขึ้นรวมถึงคุณก็จะดึงดูดความรู้ในเรื่องเดียวกันจากวิทยากรหรือว่าโค้ช กูรูท่านอื่น ๆ แหล่งความรู้ที่มาจาก official ของ Google และ Facebook ไปหาคุณด้วย ดังนั้นถ้าเห็นด้วยก็ Engagement กับโพสต์นี้และกด follow ไว้

แล้วคุณล่ะครับ? มีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร แชร์กันได้ที่ Comment ด้านล่างนะครับ ^^